เสาเฉลียงยักษ์ อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จ.อุบลราชธานี

,
หัวข้อนี้อยู่ในชุดความรู้เกี่ยวกับ แหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา
แสดงหัวข้อทั้งหมด

ชื่อทัวร์: เสาเฉลียงยักษ์ อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จ.อุบลราชธานี
(จำนวน 3 ซีน)

เปิดด้วยสมาร์ทโฟนและรับชมผ่านแว่น VR ได้ที่
https://www.thinglink.com/video/1613411395594878978


รูปถ่าย 360 องศาในซีนที่ 1: เสาเฉลียงยักษ์ – จุดศึกษาที่ 1
อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี

เสาเฉลียงยักษ์ – จุดศึกษาที่ 1 อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี

คำอธิบายจุดศึกษา
แหล่งธรณีสัณฐานเสาเฉลียงในจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งมีอยู่หลายแห่ง เสาเฉลียงยักษ์เป็นเสาเฉลียงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีความสูงประมาณ 20 เมตร กว้างประมาณ 10 เมตร บริเวณโดยรอบเป็นเนินหินโล่งกว้าง แวดล้อมด้วยป่าเบญจพรรณที่มีพืชพรรณแปลกตาหายากหลายชนิด นอกจากนี้บริเวณฐานของเสาเฉลียงยักษ์ทางด้านทิศตะวันตกยังมีร่องรอยทางโบราณคดี ได้แก่ โลงศพไม้เก่าแก่ยาวประมาณ 2 เมตร ซึ่งเชื่อว่าเป็นของมนุษย์โบราณ เสาเฉลียงเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สืบเนื่องมาจากกระบวนการกัดเซาะและกัดกร่อนด้วยอิทธิพลของน้ำและลม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการสึกกร่อนโดยแม่น้ำหรือธารน้ำไหลกัดเซาะเป็นเวลานาน เกิดขึ้นในชั้นหินที่วางตัวอยู่ในแนวราบหรือเกือบราบและในแต่ละชั้นมีส่วนประกอบของแร่ที่แตกต่างกัน จึงทำให้มีความแข็งและทนทานต่อการกัดกร่อนที่ไม่เหมือนกัน

การเกิดเสาเฉลียงยักษ์
ที่มารูปภาพ : www.nps.gov/brca/learn/nature/hoodoos.htm

รูปถ่าย 360 องศาในซีนที่ 2: เสาเฉลียงยักษ์ – จุดศึกษาที่ 2
อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี

เสาเฉลียงยักษ์ – จุดศึกษาที่ 2 อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี

คำอธิบายจุดศึกษา
เป็นประติมากรรมธรรมชาติดล้ายเห็ดเกิดจากกระบวนการผุพังอยู่กับที่และกร่อนที่เกิดกับชั้นหินที่แข็งและอ่อนของหมวดหินภูพาน อายุประมาณ 110 ล้านปีทำให้ชั้นหินมีความคงทน ต่อกระบวนการดังกล่าวแตกต่างกันจึงถูกกัดกร่อนไม่เท่ากัน ส่วนที่เป็นชั้นหินที่อ่อนกว่าจะถูกกัดกร่อนมากกว่าจึงหลงเหลือเป็นส่วนคล้ายโคนเห็ด ในขณะที่ชั้นหินที่แข็งกว่าถูกกัดกร่อนน้อยกว่าจึงหลงเหลือเป็นส่วนคล้ายดอกเห็ด (กรมทรัพยากรธรณี)


รูปถ่าย 360 องศาในซีนที่ 3: เสาเฉลียงยักษ์ – จุดศึกษาที่ 3
อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี

เสาเฉลียงยักษ์ – จุดศึกษาที่ 3 อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี

คำอธิบายจุดศึกษา
เสาเฉลียงพบโครงสร้างในชั้นหินตะกอนโดยพบชั้นหินเฉียงระดับ (Cross-Bedding) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่เกิดขึ้นจากการสะสมตัวของหินตะกอนเนื้อเม็ด ที่มีการวางตัวของชั้นหินทำมุมเอียงเทียบกับแนวชั้นหินจริง (bedding) ซึ่งอาจแสดงถึงทิศทางการสะสมตัวโบราณ (paleocurrent) โดยโครงสร้างชั้นหินเฉียงระดับนี้สามารถเกิดได้จากตัวกลางทั้งจากน้ำและลม โดยที่มุมการเอียงเทของชั้นหินเฉียงระดับโดยลมจะมากกว่ามุมการเอียงเทที่เกิดจากน้ำ

Comments are closed.