- กุมภลักษณ์ (Pothole) สามพันโบก จ.อุบลราชธานี
- เสาเฉลียงยักษ์ อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จ.อุบลราชธานี
- วนอุทยานแพะเมืองผี อ.เมืองแพร่ จ.แพร่
- ละลุ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว
- หินมิกมาไทต์ (Migmatite) อุทยานแห่งชาติลานสาง จ.ตาก
- วนอุทยานซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหิน จ.ตาก
- หินแปลกปลอม (รอยเท้ามหัศจรรย์) จ.พังงา
- เสาหินบะซอลต์ (Columnar basalt) จ.เพชรบูรณ์
- ผาสุดแผ่นดิน อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ
- สุสานหอยแหลมโพธิ์ จ.กระบี่
- เขาชีจรรย์ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
- แหล่งตัดหินโบราณ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
ชื่อทัวร์: กุมภลักษณ์ (pothole) สามพันโบก จ.อุบลราชธานี
(จำนวน 2 ซีน)
เปิดด้วยสมาร์ทโฟนและรับชมผ่านแว่น VR ได้ที่
https://www.thinglink.com/video/1613412135872757762
รูปถ่าย 360 องศาในซีนที่ 1: สามพันโบก – จุดศึกษาที่ 1
บ้านโป่งเป้า อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี
คำอธิบายจุดศึกษา
บริเวณสามพันโบกมีลักษณะเป็นหลุมเป็นบ่ออยู่ทั่วบริเวณลานหิน มีทั้งบ่อขนาดเล็กและใหญ่ และยังมีเป็นรูปร่างต่าง ๆ ตามจินตนาการอีกมากมาย ถือว่าสามพันโบกเป็นสิ่งมหัศจรรย์ธรรมชาติทางธรณีที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก โดยหินที่พบในบริเวณนี้คือหินทรายปนกรวดของหมวดหินภูพาน อายุประมาณ 110 ล้านปี แสดงชั้นเฉียงระดับสวยงาม ซึ่งบ่งบอกถึง สภาวะการสะสมตัวในสภาพแวดล้อมทางน้ำประสานสายและโค้งตวัด ในสภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อนชื้น เกิดจากกระบวนการกร่อน (erosion) โดยกระแสน้ำพัดพาเอากรวดทรายมา หมุนวนกัดกร่อนในแอ่งเล็ก ๆ บนผิวหน้าชั้นหินจนเกิดเป็นโพรงโค้ง ซึ่งทำให้เกิด “กุมภลักษณ์” (pothole)
รูปถ่าย 360 องศาในซีนที่ 2: สามพันโบก – จุดศึกษาที่ 2
บ้านโป่งเป้า อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี
คำอธิบายจุดศึกษา
ลักษณะที่เป็นหลุมหรือบ่อที่เรียกว่า “กุมภลักษณ์ (pothole)” ในหินทราย และหินทรายปนกรวดของหมวดหินภูพาน อายุประมาณ 110 ล้านปี แสดงชั้นเฉียงระดับสวยงาม ซึ่งบ่งบอกถึง สภาวะการสะสมตัวในสภาพแวดล้อมทางนํ้าประสานสายและโค้งตวัด ในสภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อนชื้น เมื่อ ประมาณ 65-97 ล้านปีมาแล้ว เกิดจากกระบวนการกร่อน (erosion) โดยกระแสนํ้าพัดพาเอากรวดทรายมา หมุนวนกัดกร่อนในแอ่งเล็กๆ บนผิวหน้าชั้นหินจนเกิดเป็นโพรงโค้งเว้า (กรมทรัพยากรธรณี)