- กุมภลักษณ์ (Pothole) สามพันโบก จ.อุบลราชธานี
- เสาเฉลียงยักษ์ อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จ.อุบลราชธานี
- วนอุทยานแพะเมืองผี อ.เมืองแพร่ จ.แพร่
- ละลุ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว
- หินมิกมาไทต์ (Migmatite) อุทยานแห่งชาติลานสาง จ.ตาก
- วนอุทยานซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหิน จ.ตาก
- หินแปลกปลอม (รอยเท้ามหัศจรรย์) จ.พังงา
- เสาหินบะซอลต์ (Columnar basalt) จ.เพชรบูรณ์
- ผาสุดแผ่นดิน อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ
- สุสานหอยแหลมโพธิ์ จ.กระบี่
- เขาชีจรรย์ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
- แหล่งตัดหินโบราณ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
ชื่อทัวร์: ผาสุดแผ่นดิน อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ (จำนวน 2 ซีน)
เปิดด้วยสมาร์ทโฟนและรับชมผ่านแว่น VR ได้ที่
https://www.thinglink.com/video/1613410336826720258
คำอธิบายจุดศึกษา
จุดชมวิวผาสุดแผ่นดินนั้นตั้งอยู่ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 105 ของประเทศไทย และได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นหน้าผาสูงชันและเป็นจุดที่สูงสุดของเทือกเขาพังเหย ซึ่งอยู่ในเขตของอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ มีความสูง 846 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งเกิดจากการยกตัวของพื้นที่เป็นที่ราบสูงภาคอีสาน จึงเป็นรอยต่อระหว่างภาคกลางกับภาคอีสาน
สภาพพื้นที่ป่าหินงานนั้นจัดเป็นหินทราย ในหมวดหินชุดพระวิหาร มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน วางตัวต่อเนื่องอยู่บนหมวดหินภูกระดึง มีความลาดเอียงไปทางทิศตะวันออกด้วยมุมเอียงเทประมาณ 10 องศา ประกอบด้วยชั้นหินทรายเนื้อควอรตซ์ หินทราย และหินทรายปนกรวด สลับกับหินทรายแป้ง (กรมทรัพยากรธรณี)
พื้นที่บริเวณนี้แสดงลักษณะของชั้นหินเฉียงระดับ (Cross-Bedding) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่เกิดขึ้นจากการสะสมตัวของหินตะกอนเนื้อเม็ด ที่มีการวางตัวของชั้นหินทำมุมเอียงเทียบกับแนวชั้นหินจริง (bedding) ซึ่งอาจแสดงถึงทิศทางการสะสมตัวโบราณ (paleocurrent) โดยโครงสร้างชั้นหินเฉียงระดับนี้สามารถเกิดได้จากตัวกลางทั้งจากน้ำและลม โดยที่มุมการเอียงเทของชั้นหินเฉียงระดับโดยลมจะมากกว่ามุมการเอียงเทที่เกิดจากน้ำ
รูปถ่าย 360 องศาจุดศึกษาที่ 1 (ซีนที่ 1): จุดชมวิวผาสุดแผ่นดิน – จุดศึกษาที่ 1
เขตอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ
รูปถ่าย 360 องศาจุดศึกษาที่ 2 (ซีนที่ 2): จุดชมวิวผาสุดแผ่นดิน – จุดศึกษาที่ 2
เขตอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ