- กุมภลักษณ์ (Pothole) สามพันโบก จ.อุบลราชธานี
- เสาเฉลียงยักษ์ อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จ.อุบลราชธานี
- วนอุทยานแพะเมืองผี อ.เมืองแพร่ จ.แพร่
- ละลุ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว
- หินมิกมาไทต์ (Migmatite) อุทยานแห่งชาติลานสาง จ.ตาก
- วนอุทยานซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหิน จ.ตาก
- หินแปลกปลอม (รอยเท้ามหัศจรรย์) จ.พังงา
- เสาหินบะซอลต์ (Columnar basalt) จ.เพชรบูรณ์
- ผาสุดแผ่นดิน อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ
- สุสานหอยแหลมโพธิ์ จ.กระบี่
- เขาชีจรรย์ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
- แหล่งตัดหินโบราณ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
ชื่อทัวร์: เสาหินบะซอลต์ (columnar basalt) น้ำตกซับพลู อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์
(จำนวน 2 ซีน)
เปิดด้วยสมาร์ทโฟนและรับชมผ่านแว่น VR ได้ที่ https://www.thinglink.com/video/1613419175294795778
คำอธิบายจุดศึกษา
เป็นลักษณะโครงสร้างหินชนิดหนึ่งที่ขึ้นขณะแข็งตัวเป็นหิน เกิดจากการปรับตัวของหินให้เข้ากับสภาพบรรยากาศ โดยการขยายตัวและเกิดรอยแตกเป็นระบบในเนื้อหิน สำหรับหินบะซอลต์ พบว่ารอยแตกเป็นระบบดังกล่าวมีลักษณะสำคัญคือ บริเวณผิวหน้าที่สัมผัสอากาศจะแตกเป็นรูปห้า หก หรือ แปด เหลี่ยม และบริเวณลึกลงไปจะแตกเป็นเส้นตรง ดังนั้นรอยแตกของมันจึงทำให้หินมีลักษณะเป็นเสาสูงๆ ที่มีด้าน 5 6 หรือ 8 ด้าน ยิ่งถ้าหินบะซอลต์ที่โผล่มีพื้นที่กว้างเท่าไหร่ ก็จะมีเสามากมาย (กรมทรัพยากรธรณี)
ลักษณะของหินภูเขาไฟชนิดบะซอลต์ (basalt) ที่ขึ้นมาปกคลุมเป็นลักษณะลาวาหลาก (lava flow) จากแนวรอยแตกบนพื้นโลกซึ่งเป็นผลมาจากการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี หลักจากนั้นเกิดการเย็นตัวลง ทำให้พื้นผิวสูญเสียน้ำและก๊าซ เกิดการหดตัวและเกิดแรงดึงตัวในเนื้อหินที่กำลังเย็นตัวจนเกิดเป็นรอยแตกห้าเหลี่ยมหรือหกเหลี่ยมที่มีแนวลึกสม่ำเสมอ เกิดเป็นลักษณะเสาหินที่มีความสวยงาม
รูปถ่าย 360 องศาในซีนที่ 1: เสาหินบะซอลต์ น้ำตกซับพลู จ.เพชรบูรณ์ -จุดศึกษาที่ 1
น้ำตกซับพลู อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์
รูปถ่าย 360 องศาในซีนที่ 2: เสาหินบะซอลต์ -จุดศึกษาที่ 2
อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์
Comments are closed.