ชั้นหินคดโค้ง (Fold) จ.ลพบุรี

,

ชื่อทัวร์: ชั้นหินคดโค้ง (Fold) อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี
(จำนวน 1 ซีน)

เปิดด้วยสมาร์ทโฟนและรับชมผ่านแว่น VR ได้ที่
https://www.thinglink.com/video/1618529972522057729


คำอธิบายศึกษา บ่อหินขุด อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี

พิกัด : UTM 0717304 E, 1643519 N (ระวางอำเภอวังม่วง 5238 IV)

(ลูกศร) ammonoid Agathiceras sp. พบในหินโผล่ บริเวณจุดศึกษา ความยาวแถบมาตราส่วนสีดำเท่ากับ 2 เซนติเมตร

ข้อมูลธรณีวิทยา

จุดศึกษานี้เป็นบ่อหินขุดผนังชันขนาดใหญ่ที่เกิดจากการกระทำโดยมนุษย์ ประกอบด้วย ชุดหินดินดานสลับหินทรายถึงทรายแป้งของหมวดหินหนองโป่ง กลุ่มหินสระบุรี สีน้ำตาลอ่อน สีขาวเหลือง สีม่วง แสดงลักษณะการวางชั้น ความหนาของหินขนาดปานกลาง หนาประมาณ 10-20 เซนติเมตรลักษณะโครงสร้างแสดงการคดโค้งรูปประทุน-ประทุนหงาย และรอยเลื่อน บริเวณด้านบนปกคลุมด้วยดินลูกรังหนาประมาณ 0.5-1 เมตร

หมวดหินหนองโป่ง [1] (ยุคเพอร์เมียนตอนต้น-ตอนกลาง) มีชั้นหินแบบฉบับอยู่บริเวณหมู่บ้านหนองโป่ง อ.มวกเหล็กติดกับอ.เมือง จ.สระบุรี โดยทั่วไปประกอบด้วยหินดินดานสลับหินปูน บางชั้นเป็นหินปูนเนื้อดินและมีหินเชิร์ตแทรกคั่นสลับ สำหรับหินดินดานมักมีลักษณะเนื้อทรายแป้งและเนื้อซิลิกา บางแห่งอาจมีหินภูเขาไฟแทรกสลับบ้างเล็กน้อย การแผ่กระจายเป็นบริเวณกว้างในแนวตะวันออก-ตะวันตก เหนือทางหลวงมิตรภาพขึ้นไป ความหนาที่ชั้นหินแบบฉบับวัดได้ 673 เมตร

ซากดึกดำบรรพ์ที่พบนอกจาก Agathiceras sp. ที่บริเวณชั้นหินแบบฉบับแล้วยังพบซาก fusulinids บ่งชี้อายุ Artinskian ถึง Kungurian หมวดหินหนองโป่งมีการตกตะกอนในสภาพแวดล้อมแบบแอ่งหรือทะเลปิด


รูปถ่าย 360 องศาในซีนที่ 1: ชั้นหินคดโค้ง (Fold)
ภูตะวันรีสอร์ท อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี

รอยคดโค้ง (Fold) ภูตะวันรีสอร์ท อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี

ข้อมูลอ้างอิง
[1] กรมทรัพยากรธรณี. (2550). ธรณีวิทยา ประเทศไทย. กรงุเทพฯ: กรมทรัพยากรธรณี

Comments are closed.