เรื่อง หินอัคนีและการจำแนก

หัวข้อนี้อยู่ในชุดความรู้เกี่ยวกับ หินอัคนี

ชื่อทัวร์: การจำแนกหินอัคนี (จำนวน 1 ซีน)

เปิดด้วยสมาร์ทโฟนและรับชมผ่านแว่น VR ได้ที่
https://www.thinglink.com/video/1618495889125408769


คำอธิบาย
หินอัคนีเกิดจากการแข็งตัวของแมกมา (magma) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ หินอัคนีแทรกซอน (intrusive igneous rocks) และหินอัคนีพุ (extrusive igneous rocks)

หินอัคนีแทรกซอนเกิดขึ้นเมื่อแมกมาแข็งตัวใต้ผิวโลกในระดับลึก เช่น หินแกรนิต ส่วนหินอัคนีพุหรืออาจจะเรียกว่าหินภูเขาไฟ (volcanic rocks) เกิดขึ้นหลังจาก การปะทุของแมกมาหรือลาวาบนผิวโลก เช่น หินบะซอลต์

ลักษณะเนื้อหินของหินอัคนี

  • เนื้อหิน หมายถึง ขนาดและการจัดวางตัวของผลึกแร่ในหิน ซึ่งจะช่วย บ่งบอกประวัติการเย็นตัวของแมกมาได้ การอธิบายลักษณะเนื้อหิน ของหินอัคนี มีดังนี้
  • เนื้อหยาบ (Phaneritic texture) ผลึกแร่มีขนาดไล่เลี่ยกันและ ใหญ่พอที่จะแยกผลึกแร่ต่างๆ ได้ด้วยตาเปล่า เนื้อชนิดนี้เป็นลักษณะ ของหินอัคนีแทรกซอน
  • เนื้อละเอียด (Aphanitic texture) ผลึกแร่มีขนาดเล็กมากจน ไม่สามารถแยกผลึกแร่ด้วยตาเปล่าต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ เนื้อหิน ชนิดนี้เป็นลักษณะของหินอัคนีพุหรือหินภูเขาไฟ
  • เนื้อดอกหรือผลึกสองขนาด (Porphyritic texture) ผลึกแร่ใน หินแยกออกได้เป็นสองขนาด แร่ดอก (phenocryst) เกิดจากการ ตกผลึกในแมกมามีเวลานานพอที่จะได้ผลึกขนาดใหญ่ เนื่องจากการ เย็นตัวเป็นไปอย่างช้าๆ ส่วนแร่พื้น (matrix หรือ groundmass) เกิดจากการแข็งตัวอย่างรวดเร็วของแมกมาหรือลาวา
  • เนื้อแก้วหรืออสัณฐาน (Glassy หรือ amorphous texture) มีลักษณะเหมือนแก้วธรรมดา ไม่มีผลึก เพราะแมกมาแข็งตัวโดยเร็ว ทันทีที่ถูกพ่นขึ้นสู่ผิวโลก
  • เนื้อเศษหิน (Fragmental texture) มีลักษณะเป็นเศษหินรูปร่าง ต่างๆ และขนาดต่างๆ กัน ส่วนใหญ่จะเกิดร่วมกับหินอัคนีเนื้อละเอียด เศษหินซึ่งเกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟนี้ เรียกว่า pyroclasts ดังนั้น ในบางครั้งจึงเรียกเนื้อเศษหินนี้ว่า Pyroclastic texture
  • เนื้อฟองอากาศ (Vesicular texture) มีลักษณะเป็นโพรงอากาศ ใหญ่บ้างเล็กบ้างในหินที่มีเนื้อละเอียดหรือเนื้อแก้ว เกิดขึ้นโดยการ ขยายตัวของฟองอากาศหรือไอน้ำและหนีออกจากลาวา ขณะที่ลาวา แข็งตัวบนผิวโลก

แร่ในหินอัคนีและการแบ่งสี

กลุ่มแร่ในหินอัคนีบ่งบอกถึงกับองค์ประกอบทางเคมีของแมกมา หินอัคนีอาจแบ่งตามส่วนประกอบของแร่และสีได้เป็น 4 จำพวก คือ

  1. หินเฟลสิก (Felsic หรือ acid rock) มีสีจางเพราะมีควอรตซ์ และเฟลด์สปาร์มาก และมีแร่เมฟิกน้อย เช่น หินแกรนิต หินไรโอไลต์ ซึ่งมีส่วนประกอบโดยประมาณดังนี้ ควอรตซ์ 10-40% โพแทสเซียม- เฟลด์สปาร์ 30-60% แพลจิโอเคลส 0-33% และแร่เมฟิก 10-33%
  2. หินเมฟิก (Mafic หรือ basic rock) มีสีเทาเข้มหรือดำ เพราะมี แร่เมฟิกอยู่มาก (ประมาณ 70%) เช่น หินแกบโบร หินบะซอลต์ ซึ่งมีส่วนประกอบโดยประมาณดังนี้ แพลจิโอเคลส 45-70% และ แร่เมฟิก 25-50%
  3. หินอินเตอร์มีเดียต (Intermediate rock) มีส่วนประกอบอยู่ ระหว่างหินเฟลสิกกับหินเมฟิก มีควอรตซ์เล็กน้อยหรือไม่มีเลย (0-10%) แร่ที่มีมากคือ แพลจิโอเคลส และแร่สีเข้มอย่างแอมฟิโบล และไพรอกซีนที่อาจมีถึง 50% เช่น หินไดโอไรต์ หินแอนดีไซต์
  4. หินอัลทราเมฟิก (Ultramafic หรือ ultrabasic rock) ปกติมักมีสีเขียวหรือดำ เพราะประกอบด้วยแร่เมฟิกเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไพรอกซีน โอลิวีน และแอมฟิโบล
ตารางจำแนกหินอัคนีและการเรียกชื่อหิน

อินโฟกราฟิกในซีนที่ 1 : การจำแนกหินอัคนี (Igneous classification)

อินโฟกราฟิก 360 องศา อธิบายการจำแนกหินอัคนี

Comments are closed.