- ดินถล่ม (Landslide)
- เรื่อง มาตราเมร์คัลลี (Mercalli scale)
- เรื่อง รอยเลื่อนมีพลัง (Active faults)
- ย้อนรอยสึนามิในประเทศไทย (26 ธันวาคม พ.ศ.2547) จ.พังงา
ชื่อทัวร์: คลื่นยักษ์สึนามิในประเทศไทย (26 ธันวาคม พ.ศ.2547) (จำนวน 4 ซีน)
เปิดด้วยสมาร์ทโฟนและรับชมผ่านแว่น VR ได้ที่ https://www.thinglink.com/video/1613427875984179202
วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ได้เกิดเหตอุทกภัย คลื่นสึนามิ ที่สร้างความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ และรุนแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ มีผู้คนเสียชีวิตกว่าสองแสนคน นับเป็นภัยธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากเป็นอันดับ 3 ของโลก รวมประเทศที่ประสบภัยจากคลื่นสึนามิ และมีผู้เสียชีวิตในครั้งนั้น 11 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย พม่า อินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา มัลดีฟส์ โซมาเลีย แทนซาเนีย และเคนยา รวมถึงในประเทศไทยใน 6 จังหวัดภาคใต้ ที่มีพื้นที่อยู่ติดกับชายฝั่งทะเลอันดามัน คือ ภูเก็ต พังงา ระนอง กระบี่ ตรัง และสตูล โดยเฉพาะที่จังหวัดพังงา กระบี่ และภูเก็ต มีการสูญเสียรุนแรงมากที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยได้รับมา
ข้อมูลเพิ่มเติม
รูปถ่าย 360 องศาจุดศึกษาที่ 1 (ซีนที่ 1): แหลมปะการัง
บ้านแหลมปะการัง ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา
คำอธิบาย
ลักษณะเป็นแหลมที่ยื่นออกไปในทะเล มีซากปะการังอยู่บนชายหาดจำนวนมาก ประเภทปะการังโขด ปะการังเขากวาง บริเวณริมหาดด้านข้างแหลมมีต้นสนเรียงรายอยู่จำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบโขดหินจำนวนมากบริเวณชายหาดที่เกิดจากการถูกคลื่นยักษ์สึนามิที่มีระดับความสูงถึง 12 เมตร พัดพามาจากบริเวณแนวปะการังเดิมใต้ทะเล
รูปถ่าย 360 องศาจุดศึกษาที่ 2 (ซีนที่ 1)
ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา
คำอธิบาย
เรือตรวจการ 813 หรือ เรือ ต.813 เป็นเรือในหน่วยงานกรมตำรวจ ที่กำลังจอดปฎิบัติการอยู่บริเวณชายฝั่งเขาหลัก และถูกคลื่นยักษ์สึนามิซัดเข้าฝั่งข้ามผ่านถนนเพชรเกษม มายังอีกฝากของถนนหรือสถานที่ตั้งในปัจจุบันนั้นเอง
รูปถ่าย 360 องศาจุดศึกษาที่ 3 (ซีนที่ 1) อาคารหลบภัยสึนามิบ้านบางเนียง (ด้านหน้า)
ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา
รูปถ่าย 360 องศาจุดศึกษาที่ 4 (ซีนที่ 2): อาคารหลบภัยสึนามิบ้านบางเนียง (ดาดฟ้า)
ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา
คำอธิบาย
อาคารหลบภัยสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 5 ชั้น รองรับผู้อพยพ 1,500-2,000 คน สามารถต้านคลื่นสึนามิสูงขนาด 6 เมตรได้ พื้นชั้นล่างสูง 4.5 เมตรเปิดใต้ถุนโล่งเพื่อให้น้ำไหลผ่านสะดวก พื้นที่หลบภัยชั้น 3-5 อยู่สูงจากพื้นดิน 8 เมตรขึ้นไปจึงไม่โดนน้ำท่วม และฐานรากอาคารเป็นเสาเข็มฝังลึกลงในชั้นดินช่วยยึดตัวอาคารไม่ไหลไปตามกระแสน้ำ พร้อมทั้งป้องกันแรงกระแทกจากเรือประมงที่วิ่งเข้ามาชนด้วย นอกจากนี้ตัวอาคารควรอยู่ห่างจากชายฝั่งในระยะที่ชาวบ้านวิ่งไปถึงไม่เกิน 30 นาที หลังได้ยินเสียงไซเรนเตือนภัยดังขึ้น
ที่มารูปภาพ : www.geothai.com
ที่มารูปภาพ : http://raydant.com/news-inner.php?id=7
Comments are closed.