ดินถล่ม (Landslide)

,
หัวข้อนี้อยู่ในชุดความรู้เกี่ยวกับ ธรณีพิบัติภัย
แสดงหัวข้อทั้งหมด

ชื่อทัวร์: ดินถล่ม (Landslide) (จำนวน 3 ซีน)

เปิดด้วยสมาร์ทโฟนและรับชมผ่านแว่น VR ได้ที่ https://www.thinglink.com/video/1618508254621466625



คำอธิบาย
ดินถล่ม (Landslide or Mass movement) คือการเคลื่อนที่ของมวลดิน หรือหิน ลงมาตามลาดเขาด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงของโลก โดยปรกติ ดินถล่มที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่ “ น้ำ ” จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดดินถล่มเสมอ โดยน้ำจะเป็นตัวลดแรงต้านทานในการเคลื่อนตัวของมวลดินหรือหิน และน้ำจะเป็นตัวที่ทำให้คุณสมบัติของดินที่เป็นของแข็งเปลี่ยนไปเป็นของไหลได้ (กรมทรัพยากรธรณี)

ดินถล่ม เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดได้ทั่วไปในบริเวณภูเขาที่มีความลาดชันสูง อย่างไรก็ตาม ในบริเวณที่มีความลาดชันต่ำก็สามารถเกิดดินถล่มได้ถ้ามีปัจจัยที่ก่อให้เกิดดินถล่ม โดยทั่วไปบริเวณที่มักจะเกิดดินถล่ม คือ บริเวณที่ใกล้กับแนวรอยเลื่อนที่มีพลังและมีการยกตัวของแผ่นดินขึ้นเป็นภูเขาสูง บริเวณที่ทางน้ำกัดเซาะเป็นโตรกเขาลึกและชัน บริเวณที่มีแนวรอยแตกและรอยแยกหนาแน่นบนลาดเขา บริเวณที่มีการผุพังของหินและทำให้เกิดชั้นดินหนาบนลาดเขา ในบริเวณที่มีความลาดชันต่ำและมีดินที่เกิดจากการผุพังของชั้นหินบนลาดเขาหนา ดินถล่มมักเกิดจากการที่น้ำซึมลงในชั้นดินบนลาดเขาและเกิดแรงดันของน้ำเพิ่มขึ้นในชั้นดินโดยเฉพาะในช่วงที่ฝนตกหนัก

ข้อมูลเพิ่มเติม


รูปถ่าย 360 องศาในซีนที่ 1: ดินถล่ม ประเทศลาว

ดินถล่ม ประเทศลาว
รูปขยายดินถล่ม ประเทศลาว

รูปถ่าย 360 องศาในซีนที่ 2: พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม
ต.ภูคา อ.ปัว จ.น่าน

พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม – ต.ภูคา อ.ปัว จ.น่าน

รูปถ่าย 360 องศาในซีนที่ 3: พื้นที่ดินถล่ม
ริมทางหลวงหมายเลข 1256 ต.ภูคา อ.ปัว จ.น่าน

พื้นที่ดินถล่ม ริมทางหลวงหมายเลข 1256 ต.ภูคา อ.ปัว จ.น่าน
พื้นที่ดินถล่มในบริเวณพื้นที่ดินถล่ม ริมทางหลวงหมายเลข 1256 ต.ภูคา อ.ปัว จ.น่าน

Comments are closed.