ศิลาแลง หรือแลง (Laterite)

,

ชื่อทัวร์: ศิลาแลง หรือแลง (Laterite) จ.กำแพงเพชร
(จำนวน 3 ซีน)

เปิดด้วยสมาร์ทโฟนและรับชมผ่านแว่น VR ได้ที่ https://www.thinglink.com/video/1613423959859003394


รูปถ่าย 360 องศาในซีนที่ 1: การใช้ประโยชน์ศิลาแลง (การแกะสลักศิลาแลง)
อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร

การใช้ประโยชน์ศิลาแลง (การแกะสลักศิลาแลง) อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร

คำอธิบายจุดศึกษา
การแกะสลักศิลาแลง อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร จากภาพเป็นการยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์ของศิลาแลงในการเป็น “หิน” ประดับเพื่อความสวยงาม หรือเพิ่มมูลค่าของวัสดุทางธรณีได้


รูปถ่าย 360 องศาในซีนที่ 2: การใช้ประโยชน์ศิลาแลง (การสร้างโบราณสถาน)
อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร

การใช้ประโยชน์ศิลาแลง (การสร้างโบราณสถาน) อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร

คำอธิบายจุดศึกษา
ศิลาแลงถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางการก่อสร้างมาอย่างช้านาน จากหลักฐานทางโบราณคดี ทำให้เห็นถึงความสำคัญของศิลาแลง อย่างไรก็ตาม ศิลาแลงไม่ได้เกิดทั่วไปในทุกภูมิภาคของประเทศไทย แต่จะเกิดในบริเวณที่ร้อนชื้น มีฝนหรือน้ำท่วมถึง ทำให้เกิดการชะล้างเอาธาตุหลายชนิดออกไป หลงเหลือเป็นพวกสารประกอบเหล็กมาก มีความแข็งแรงมากพอ สามารถใช้ใบมีดตัดเป็นแผ่น “ศิลาแลง” หรือ “แม่รัง” สามารถตัดเป็นแผ่นหรือก้อนอิฐ แล้วนำไปใช้ในการก่อสร้างได้


รูปถ่าย 360 องศาในซีนที่ 3: บ่อขุดศิลาแลง
อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร

บ่อขุดศิลาแลง อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร

คำอธิบายจุดศึกษา
ศิลาแลงเป็นตะกอนพื้นผิวที่เป็นผลมาจากกระบวนการผุพังทางธรณีวิทยา และพบในประเทศที่อยู่ในมรสุมเขตร้อนเท่านั้น โดยการผุพังในกระบวนการเกิดศิลาแลงส่วนมากเป็นการผุพังทางเคมี ซึ่งเป็นการเปลี่ยนสภาพของแร่ที่ประกอบอยู่ในหิน หรือในตะกอนที่สะสมตัวอยู่บริเวณนั้น โดยอาจมีการผุพังทางกลศาสตร์จากการแตกหักของหินต้นกำเนิดร่วมด้วยบ้าง ศิลาแลงจึงเป็นวัสดุธรรมชาติที่เกิดจากการผุพัง มีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละแหล่ง แต่มีลักษณะทั่วไปที่เด่นชัด คือ มีปริมาณแร่เหล็กและอลูมิเนียมที่เกิดจากการผุพังมาก มีสารอินทรีย์น้อยมากหรือไม่มีเลย อาจมีหรือไม่มีแร่ควอตซ์ก็ได้ มีความแข็งเพิ่มขึ้นเมื่อสัมผัสกับอากาศ เกิดในสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งสลับชุ่มชื้น (แดดออก/ฝนตก)