มาตรฐานและตัวชี้วัด
ภาพ 360 องศาและภาพนำเสนอข้อมูลที่ใช้จัดทำเป็นสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้สำหรับห้องเรียนธรณีวิทยานี้ จัดเรียงเนื้อหาตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (คำสั่ง ณ วันที่ 7 สิงหาคม 2560) โดยเน้นมาตรฐาน ว 7.1 ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ธรณีพิบัติภัย และผลต่อสิ่งมีชีวิตและ สิ่งแวดล้อม การศึกษาลำดับชั้นหิน ทรัพยากรธรณี แผนที่ และการนำไปใช้ประโยชน์ ประกอบด้วย 12 ตัวชี้วัด ดังนี้
ตัวชี้วัดที่ 1 | อธิบายการแบ่งชั้นและสมบัติของ โครงสร้างโลก พร้อมยกตัวอย่างข้อมูลที่ สนับสนุน |
สาระเรียนรู้แกนกลาง | การศึกษาโครงสร้างโลกใช้ข้อมูลหลายด้าน เช่น องค์ประกอบทางเคมีของหินและแร่องค์ประกอบทางเคมีของอุกกาบาตข้อมูลคลื่นไหวสะเทือนที่เคลื่อนที่ผ่านโลก จึงสามารถแบ่งชั้น โครงสร้างโลกได้ 2แบบ คือ โครงสร้างโลก ตามองค์ประกอบทางเคมีแบ่งได้เป็น 3 ชั้น ได้แก่ เปลือกโลก เนื้อโลก และแก่นโลก และโครงสร้างโลกตามสมบัติเชิงกล แบ่งได้เป็น 5 ชั้น ได้แก่ ธรณีภาค ฐานธรณีภาค มัชฌิมภาค แก่นโลกชั้นนอก และแก่นโลกชั้นใน นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบรอยต่อระหว่างชั้นโครงสร้างโลก เช่น แนวแบ่งเขตโมโฮโรวิซิก แนวแบ่งเขตกูเทนเบิร์ก แนวแบ่งเขตเลห์แมน |
ตัวชี้วัดที่ 2 | อธิบายหลักฐานทางธรณีวิทยาที่ สนับสนุนการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี |
สาระเรียนรู้แกนกลาง | แผ่นธรณีต่าง ๆ เป็นส่วนประกอบของ ธรณีภาค ซึ่งเป็นชั้นนอกสุดของโครงสร้างโลก โดยมีการเปลี่ยนแปลงขนาดและตําแหน่งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีดังกล่าว อธิบายได้ตามทฤษฎีธรณีแปรสัณฐาน ซึ่งมี รากฐานมาจากทฤษฎีทวีปเลื่อนและทฤษฎีการแผ่ขยายพื้นสมุทร โดยมีหลักฐานที่สนับสนุน ได้แก่รูปร่างของขอบทวีปที่สามารถเชื่อมต่อกันได้ ความคล้ายคลึงกันของกลุ่มหินและแนวเทือกเขา ซากดึกดําบรรพ์ร่องรอย การเคลื่อนที่ของตะกอนธารน้ำแข็ง ภาวะแม่เหล็กโลกบรรพกาล อายุหินของพื้นมหาสมุทร รวมทั้ง การค้นพบสันเขากลางสมุทร และร่องลึกก้นสมุทร |
ตัวชี้วัดที่ 3 | ระบุสาเหตุและอธิบายรูปแบบแนว รอยต่อของแผ่นธรณีที่สัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีพร้อมยกตัวอย่าง หลักฐานทางธรณีวิทยาที่พบ |
สาระเรียนรู้แกนกลาง | การพาความร้อนของแมกมาภายในโลก ทําให้เกิดการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีตามทฤษฎีธรณีแปรสัณฐาน ซึ่งนัก วิทยาศาสตร์ได้สํารวจพบหลักฐานทางธรณีวิทยา ได้แก่ ธรณีสัณฐานและธรณีโครงสร้างที่บริเวณแนวรอยต่อของแผ่นธรณี เช่น ร่องลึกก้นสมุทร หมู่เกาะภูเขาไฟ รูปโค้ง แนวภูเขาไฟ แนวเทือกเขา หุบเขาทรุด และสันเขากลางสมุทร รอยเลื่อน นอกจากนี้ยังพบการเกิดธรณีพิบัติภัยที่บริเวณแนวรอยต่อของแผ่นธรณี เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด สึนามิซึ่งหลักฐานดังกล่าวสัมพันธ์กับรูปแบบการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีนักวิทยาศาสตร์ จึงสรุปได้ว่าแนวรอยต่อของแผ่นธรณีมี 3 รูปแบบ ได้แก่ แนวแผ่นธรณีแยกตัว แนวแผ่นธรณี เคลื่อนที่เข้าหากัน แนวแผ่นธรณีเคลื่อนที่ผ่านกันในแนวราบ |
ตัวชี้วัดที่ 4 | วิเคราะห์หลักฐานทางธรณีวิทยาที่พบ ในปัจจุบัน และอธิบายลำดับเหตุการณ์ ทางธรณีวิทยาในอดีต |
สาระเรียนรู้แกนกลาง | การลําดับชั้นหิน เป็นการศึกษาการวางตัวการแผ่กระจายลําดับอายุ ความสัมพันธ์ของชั้นหินรอยชั้นไม่ต่อเนื่อง และหลักฐานทางธรณีวิทยาอื่น ๆ ที่ปรากฏ ทําให้ทราบลําดับเหตุการณ์ทางธรณีวิทยา การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นบนโลกตั้งแต่กําเนิดโลกจนถึงปัจจุบัน หลักฐานทางธรณีวิทยา ได้แก่ซากดึกดําบรรพ์หิน และลักษณะโครงสร้างทางธรณีซึ่งนํามาหาอายุได้ 2 แบบ ได้แก่อายุเปรียบเทียบ คือ อายุของ ซากดึกดําบรรพ์หิน และ/หรือเหตุการณ์ทางธรณีวิทยา เมื่อเทียบกับซากดึกดําบรรพ์หิน และ/หรือเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาอื่น ๆ และอายุสัมบูรณ์คือ อายุที่ระบุเป็นตัวเลขของหิน และ/หรือเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาซึ่งคํานวณได้จากไอโซโทปของธาตุ ข้อมูลจากอายุเปรียบเทียบและอายุสัมบูรณ์ สามารถนํามาจัดทํามาตราธรณีกาลคือการลําดับช่วงเวลาของโลกตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน แบ่งออกเป็น บรมยุค มหายุค ยุคและสมัยซึ่งแต่ละช่วงเวลามีสิ่งมีชีวิต สภาพแวดล้อมและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแตกต่างกัน |
ตัวชี้วัดที่ 5 | อธิบายสาเหตุกระบวนการเกิดภูเขาไฟ ระเบิดและปัจจัยที่ทำให้ความรุนแรง ของการปะทุและรูปร่างของภูเขาไฟ แตกต่างกัน รวมทั้งสืบค้นข้อมูลพื้นที่ เสี่ยงภัย ออกแบบและนำเสนอ แนวทางการเฝ้าระวังและการปฏิบัติตน ให้ปลอดภัย |
สาระเรียนรู้แกนกลาง | ภูเขาไฟระเบิด เกิดจากการแทรกดันของแมกมาขึ้นมาตามส่วนเปราะบาง หรือรอยแตกบนเปลือกโลก มักพบหนาแน่นบริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นธรณี ทําให้บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่เสี่ยงภัย ความรุนแรงของการปะทุและรูปร่างของภูเขาไฟที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของแมกมา ผลจากการระเบิดของภูเขาไฟมีทั้งประโยชน์และโทษ จึงต้องศึกษาแนวทางในการเฝ้าระวัง และการปฏิบัติตนให้ปลอดภัย |
ตัวชี้วัดที่ 6 | อธิบายสาเหตุ กระบวนการเกิด ขนาด และความรุนแรง และผลจากแผ่นดินไหว รวมทั้งสืบค้นข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัย ออกแบบและนำเสนอแนวทางการเฝ้า ระวังและการปฏิบัติตนให้ปลอดภัย |
สาระเรียนรู้แกนกลาง | แผ่นดินไหวเกิดจากการปลดปล่อยพลังงานที่สะสมไว้ของเปลือกโลกในรูปของคลื่นไหวสะเทือน แผ่นดินไหวมีขนาดและความรุนแรงแตกต่างกัน และทําลายทรัพย์สิน ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวมักอยู่บริเวณรอยต่อของแผ่นธรณีและพื้นที่ภายใต้อิทธิพลของการเคลื่อนของแผ่นธรณีที่ระดับความลึกต่างกัน ทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว ซึ่งส่งผลให้สิ่งก่อสร้างเสียหาย เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน จึงต้องศึกษาแนวทางในการเฝ้าระวัง และการปฏิบัติตนให้ปลอดภัย |
ตัวชี้วัดที่7 | อธิบายสาเหตุ กระบวนการเกิด และผลจากสึนามิ รวมทั้งสืบค้นข้อมูลพื้นที่ เสี่ยงภัย ออกแบบและนำเสนอ แนวทางการเฝ้าระวังและการปฏิบัติตน ให้ปลอดภัย |
สาระเรียนรู้แกนกลาง | สึนามิ คือคลื่นน้ำที่เกิดจากการแทนที่มวลน้ำในปริมาณมหาศาล ส่วนมากจะเกิดในทะเล หรือมหาสมุทร โดยคลื่นมีลักษณะเฉพาะ คือ ความยาวคลื่นมากและเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง เมื่ออยู่กลางมหาสมุทรจะมีความสูงคลื่นน้อย และอาจเพิ่มความสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อคลื่น เคลื่อนที่ผ่านบริเวณน้ำตื้น ทําให้พื้นที่บริเวณ ชายฝั่งบางบริเวณเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยสึนามิ ก่อให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์และสิ่งก่อสร้างในบริเวณชายหาดนั้น จึงต้องศึกษาแนวทาง ในการเฝ้าระวัง และการปฏิบัติตนให้ปลอดภัย |
ตัวชี้วัดที่ 8 | ตรวจสอบ และระบุชนิดแร่ รวมทั้ง วิเคราะห์สมบัติและนำเสนอการใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรแร่ที่เหมาะสม |
สาระเรียนรู้แกนกลาง | แร่ คือ ธาตุหรือสารประกอบอนินทรีย์ที่มีสถานะเป็นของแข็ง เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมีโครงสร้างภายในที่เป็นระเบียบ และมีสูตรเคมีและสมบัติอื่น ๆ ที่แน่นอน หรืออาจเปลี่ยนแปลงได้ภายใต้วงจํากัด ทําให้แร่มีสมบัติทางกายภาพที่แน่นอน สามารถนํามาใช้เพื่อตรวจสอบชนิดของแร่ทางกายภาพ และการทําปฏิกิริยาเคมีกับกรด ทรัพยากรแร่สามารถนําไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมได้หลายประเภท เช่น อาหารและยา เครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อัญมณี |
ตัวชี้วัดที่ 9 | ตรวจสอบ จำแนกประเภท และระบุ ชื่อหิน รวมทั้งวิเคราะห์สมบัติและนำเสนอการใช้ประโยชน์ของทรัพยากร หินที่เหมาะสม |
สาระเรียนรู้แกนกลาง | หิน เป็นมวลของแข็งที่ประกอบด้วยแร่ตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป หรือประกอบด้วยแก้วธรรมชาติ หรือสสารจากสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นเอง หินสามารถจําแนกตามลักษณะการเกิดและเนื้อหิน ได้เป็น 3ประเภท ได้แก่ หินอัคนี หินตะกอน และหินแปร การระบุชื่อของหินแต่ละประเภท จะใช้ลักษณะและองค์ประกอบทางแร่ของหินเป็นเกณฑ์ หินสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น วัสดุก่อสร้าง เครื่องประดับ วัตถุดิบในอุตสาหกรรม |
ตัวชี้วัดที่ 10 | อธิบายกระบวนการเกิด และการ สำรวจแหล่งปิโตรเลียมและถ่านหิน โดย ใช้ข้อมูลทางธรณีวิทยา |
สาระเรียนรู้แกนกลาง | ทรัพยากรปิโตรเลียมและถ่านหินเป็นทรัพยากรสิ้นเปลืองที่มีอยู่อย่างจํากัด ใช้แล้วหมดไป ไม่สามารถเกิดขึ้นทดแทนได้ในเวลาอันรวดเร็ว ทรัพยากรปิโตรเลียมและถ่านหินถูกนํามาใช้ในอุตสาหกรรมที่สําคัญของประเทศ เช่น การคมนาคม การผลิตไฟฟ้า เชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมต่าง ๆ |
ตัวชี้วัดที่ 11 | อธิบายสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก ปิโตรเลียมและถ่านหิน พร้อมนำเสนอ การใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม |
สาระเรียนรู้แกนกลาง | การศึกษากระบวนการเกิดและการสํารวจแหล่งปิโตรเลียมและถ่านหินต้องใช้ความรู้พื้นฐานธรณีวิทยาหลายด้าน เช่น ตะกอนวิทยา การลําดับชั้นหิน ธรณีโครงสร้าง รวมทั้งวิธีการ และเทคนิคต่าง ๆ ที่เหมาะสมเพื่อที่จะนําทรัพยากรมาใช้ได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน |
ตัวชี้วัดที่ 12 | อ่านและแปลความหมายจากแผนที่ ภูมิประเทศและแผนที่ธรณีวิทยาของ พื้นที่ที่กำหนด พร้อมทั้งอธิบายและ ยกตัวอย่างการนำไปใช้ประโยชน์ |
สาระเรียนรู้แกนกลาง | แผนที่ภูมิประเทศ เป็นแผนที่ที่สร้างเพื่อจําลองลักษณะของผิวโลกหรือบางส่วนของพื้นที่บนผิวโลก โดยมีทิศทางที่ชัดเจน และมาตราส่วนขนาดต่าง ๆ ตามความเหมาะสมกับการใช้งาน แผนที่ภูมิประเทศมักแสดงเส้นชั้นความสูงและคําอธิบายสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏในแผนที่ แผนที่ธรณีวิทยา เป็นแผนที่แสดงการกระจายตัวของหินกลุ่มต่าง ๆ ที่โผล่ให้เห็นบนพื้นผิว ทําให้ทราบถึงขอบเขตของหินในพื้นที่ นอกจากนี้ยังแสดงลักษณะการวางตัวของชั้นหินซากดึกดําบรรพ์และธรณีโครงสร้าง ข้อมูลจากแผนที่ภูมิประเทศและแผนที่ธรณีวิทยา สามารถนําไปใช้วางแผนการใช้ประโยชน์และประเมินศักยภาพของพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม เช่น ประเมินศักยภาพแหล่งทรัพยากรธรณีต่าง ๆ การวางผังเมือง การสร้างเขื่อน |