• ข้อมูลโครงการ
  • มาตรฐานและตัวชี้วัด
  • ยินดีต้อนรับสู่แหล่งเรียนรู้ธรณีวิทยาเสมือนจริง
  • วิธีการใช้งาน
  • เครือข่ายครูผู้สอนวิชาธรณีวิทยา โลกศาสตร์
  • เทคโนโลยีเสมือนจริง
แหล่งเรียนรู้ธรณีวิทยาเสมือนจริง            
  • หน้าหลัก
  • วิธีการใช้งาน
  • มาตรฐานและตัวชี้วัด
  • เทคโนโลยีเสมือนจริง
  • ข้อมูลโครงการ
  • เครือข่ายครูธรณี
แหล่งเรียนรู้ธรณีวิทยาเสมือนจริง
  • หน้าหลัก
  • วิธีการใช้งาน
  • มาตรฐานและตัวชี้วัด
  • เทคโนโลยีเสมือนจริง
  • ข้อมูลโครงการ
  • เครือข่ายครูธรณี

มาตรฐานและตัวชี้วัด

ภาพ 360 องศาและภาพนำเสนอข้อมูลที่ใช้จัดทำเป็นสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้สำหรับห้องเรียนธรณีวิทยานี้ จัดเรียงเนื้อหาตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (คำสั่ง ณ วันที่ 7 สิงหาคม 2560) โดยเน้นมาตรฐาน ว 7.1 ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ธรณีพิบัติภัย และผลต่อสิ่งมีชีวิตและ สิ่งแวดล้อม การศึกษาลำดับชั้นหิน ทรัพยากรธรณี แผนที่ และการนำไปใช้ประโยชน์ ประกอบด้วย 12 ตัวชี้วัด ดังนี้

ตัวชี้วัดที่ 1อธิบายการแบ่งชั้นและสมบัติของ โครงสร้างโลก พร้อมยกตัวอย่างข้อมูลที่ สนับสนุน
สาระเรียนรู้แกนกลาง
การศึกษาโครงสร้างโลกใช้ข้อมูลหลายด้าน เช่น องค์ประกอบทางเคมีของหินและแร่องค์ประกอบทางเคมีของอุกกาบาตข้อมูลคลื่นไหวสะเทือนที่เคลื่อนที่ผ่านโลก จึงสามารถแบ่งชั้น โครงสร้างโลกได้ 2แบบ คือ โครงสร้างโลก ตามองค์ประกอบทางเคมีแบ่งได้เป็น 3 ชั้น ได้แก่ เปลือกโลก เนื้อโลก และแก่นโลก และโครงสร้างโลกตามสมบัติเชิงกล แบ่งได้เป็น 5 ชั้น ได้แก่ ธรณีภาค ฐานธรณีภาค มัชฌิมภาค แก่นโลกชั้นนอก และแก่นโลกชั้นใน นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบรอยต่อระหว่างชั้นโครงสร้างโลก เช่น แนวแบ่งเขตโมโฮโรวิซิก แนวแบ่งเขตกูเทนเบิร์ก แนวแบ่งเขตเลห์แมน
ตัวชี้วัดที่ 2อธิบายหลักฐานทางธรณีวิทยาที่ สนับสนุนการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี
สาระเรียนรู้แกนกลางแผ่นธรณีต่าง ๆ เป็นส่วนประกอบของ ธรณีภาค ซึ่งเป็นชั้นนอกสุดของโครงสร้างโลก โดยมีการเปลี่ยนแปลงขนาดและตําแหน่งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีดังกล่าว อธิบายได้ตามทฤษฎีธรณีแปรสัณฐาน ซึ่งมี รากฐานมาจากทฤษฎีทวีปเลื่อนและทฤษฎีการแผ่ขยายพื้นสมุทร โดยมีหลักฐานที่สนับสนุน ได้แก่รูปร่างของขอบทวีปที่สามารถเชื่อมต่อกันได้ ความคล้ายคลึงกันของกลุ่มหินและแนวเทือกเขา ซากดึกดําบรรพ์ร่องรอย การเคลื่อนที่ของตะกอนธารน้ำแข็ง ภาวะแม่เหล็กโลกบรรพกาล อายุหินของพื้นมหาสมุทร รวมทั้ง การค้นพบสันเขากลางสมุทร และร่องลึกก้นสมุทร
ตัวชี้วัดที่ 3ระบุสาเหตุและอธิบายรูปแบบแนว รอยต่อของแผ่นธรณีที่สัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีพร้อมยกตัวอย่าง หลักฐานทางธรณีวิทยาที่พบ
สาระเรียนรู้แกนกลางการพาความร้อนของแมกมาภายในโลก ทําให้เกิดการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีตามทฤษฎีธรณีแปรสัณฐาน ซึ่งนัก วิทยาศาสตร์ได้สํารวจพบหลักฐานทางธรณีวิทยา ได้แก่ ธรณีสัณฐานและธรณีโครงสร้างที่บริเวณแนวรอยต่อของแผ่นธรณี เช่น ร่องลึกก้นสมุทร หมู่เกาะภูเขาไฟ รูปโค้ง แนวภูเขาไฟ แนวเทือกเขา หุบเขาทรุด และสันเขากลางสมุทร รอยเลื่อน นอกจากนี้ยังพบการเกิดธรณีพิบัติภัยที่บริเวณแนวรอยต่อของแผ่นธรณี เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด สึนามิซึ่งหลักฐานดังกล่าวสัมพันธ์กับรูปแบบการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีนักวิทยาศาสตร์ จึงสรุปได้ว่าแนวรอยต่อของแผ่นธรณีมี 3 รูปแบบ ได้แก่ แนวแผ่นธรณีแยกตัว แนวแผ่นธรณี เคลื่อนที่เข้าหากัน แนวแผ่นธรณีเคลื่อนที่ผ่านกันในแนวราบ
ตัวชี้วัดที่ 4วิเคราะห์หลักฐานทางธรณีวิทยาที่พบ ในปัจจุบัน และอธิบายลำดับเหตุการณ์ ทางธรณีวิทยาในอดีต
สาระเรียนรู้แกนกลางการลําดับชั้นหิน เป็นการศึกษาการวางตัวการแผ่กระจายลําดับอายุ ความสัมพันธ์ของชั้นหินรอยชั้นไม่ต่อเนื่อง และหลักฐานทางธรณีวิทยาอื่น ๆ ที่ปรากฏ ทําให้ทราบลําดับเหตุการณ์ทางธรณีวิทยา การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นบนโลกตั้งแต่กําเนิดโลกจนถึงปัจจุบัน หลักฐานทางธรณีวิทยา ได้แก่ซากดึกดําบรรพ์หิน และลักษณะโครงสร้างทางธรณีซึ่งนํามาหาอายุได้ 2 แบบ ได้แก่อายุเปรียบเทียบ คือ อายุของ ซากดึกดําบรรพ์หิน และ/หรือเหตุการณ์ทางธรณีวิทยา เมื่อเทียบกับซากดึกดําบรรพ์หิน และ/หรือเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาอื่น ๆ และอายุสัมบูรณ์คือ อายุที่ระบุเป็นตัวเลขของหิน และ/หรือเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาซึ่งคํานวณได้จากไอโซโทปของธาตุ ข้อมูลจากอายุเปรียบเทียบและอายุสัมบูรณ์ สามารถนํามาจัดทํามาตราธรณีกาลคือการลําดับช่วงเวลาของโลกตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน แบ่งออกเป็น บรมยุค มหายุค ยุคและสมัยซึ่งแต่ละช่วงเวลามีสิ่งมีชีวิต สภาพแวดล้อมและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแตกต่างกัน
ตัวชี้วัดที่ 5อธิบายสาเหตุกระบวนการเกิดภูเขาไฟ ระเบิดและปัจจัยที่ทำให้ความรุนแรง ของการปะทุและรูปร่างของภูเขาไฟ แตกต่างกัน รวมทั้งสืบค้นข้อมูลพื้นที่ เสี่ยงภัย ออกแบบและนำเสนอ แนวทางการเฝ้าระวังและการปฏิบัติตน ให้ปลอดภัย
สาระเรียนรู้แกนกลางภูเขาไฟระเบิด เกิดจากการแทรกดันของแมกมาขึ้นมาตามส่วนเปราะบาง หรือรอยแตกบนเปลือกโลก มักพบหนาแน่นบริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นธรณี ทําให้บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่เสี่ยงภัย ความรุนแรงของการปะทุและรูปร่างของภูเขาไฟที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของแมกมา ผลจากการระเบิดของภูเขาไฟมีทั้งประโยชน์และโทษ จึงต้องศึกษาแนวทางในการเฝ้าระวัง และการปฏิบัติตนให้ปลอดภัย
ตัวชี้วัดที่ 6อธิบายสาเหตุ กระบวนการเกิด ขนาด และความรุนแรง และผลจากแผ่นดินไหว รวมทั้งสืบค้นข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัย ออกแบบและนำเสนอแนวทางการเฝ้า ระวังและการปฏิบัติตนให้ปลอดภัย
สาระเรียนรู้แกนกลางแผ่นดินไหวเกิดจากการปลดปล่อยพลังงานที่สะสมไว้ของเปลือกโลกในรูปของคลื่นไหวสะเทือน แผ่นดินไหวมีขนาดและความรุนแรงแตกต่างกัน และทําลายทรัพย์สิน ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวมักอยู่บริเวณรอยต่อของแผ่นธรณีและพื้นที่ภายใต้อิทธิพลของการเคลื่อนของแผ่นธรณีที่ระดับความลึกต่างกัน ทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว ซึ่งส่งผลให้สิ่งก่อสร้างเสียหาย เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน จึงต้องศึกษาแนวทางในการเฝ้าระวัง และการปฏิบัติตนให้ปลอดภัย
ตัวชี้วัดที่7อธิบายสาเหตุ กระบวนการเกิด และผลจากสึนามิ รวมทั้งสืบค้นข้อมูลพื้นที่ เสี่ยงภัย ออกแบบและนำเสนอ แนวทางการเฝ้าระวังและการปฏิบัติตน ให้ปลอดภัย
สาระเรียนรู้แกนกลางสึนามิ คือคลื่นน้ำที่เกิดจากการแทนที่มวลน้ำในปริมาณมหาศาล ส่วนมากจะเกิดในทะเล หรือมหาสมุทร โดยคลื่นมีลักษณะเฉพาะ คือ ความยาวคลื่นมากและเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง เมื่ออยู่กลางมหาสมุทรจะมีความสูงคลื่นน้อย และอาจเพิ่มความสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อคลื่น เคลื่อนที่ผ่านบริเวณน้ำตื้น ทําให้พื้นที่บริเวณ ชายฝั่งบางบริเวณเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยสึนามิ ก่อให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์และสิ่งก่อสร้างในบริเวณชายหาดนั้น จึงต้องศึกษาแนวทาง ในการเฝ้าระวัง และการปฏิบัติตนให้ปลอดภัย
ตัวชี้วัดที่ 8
ตรวจสอบ และระบุชนิดแร่ รวมทั้ง วิเคราะห์สมบัติและนำเสนอการใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรแร่ที่เหมาะสม
สาระเรียนรู้แกนกลางแร่ คือ ธาตุหรือสารประกอบอนินทรีย์ที่มีสถานะเป็นของแข็ง เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมีโครงสร้างภายในที่เป็นระเบียบ และมีสูตรเคมีและสมบัติอื่น ๆ ที่แน่นอน หรืออาจเปลี่ยนแปลงได้ภายใต้วงจํากัด ทําให้แร่มีสมบัติทางกายภาพที่แน่นอน สามารถนํามาใช้เพื่อตรวจสอบชนิดของแร่ทางกายภาพ และการทําปฏิกิริยาเคมีกับกรด ทรัพยากรแร่สามารถนําไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมได้หลายประเภท เช่น อาหารและยา เครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อัญมณี
ตัวชี้วัดที่ 9 ตรวจสอบ จำแนกประเภท และระบุ ชื่อหิน รวมทั้งวิเคราะห์สมบัติและนำเสนอการใช้ประโยชน์ของทรัพยากร หินที่เหมาะสม
สาระเรียนรู้แกนกลางหิน เป็นมวลของแข็งที่ประกอบด้วยแร่ตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป หรือประกอบด้วยแก้วธรรมชาติ หรือสสารจากสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นเอง หินสามารถจําแนกตามลักษณะการเกิดและเนื้อหิน ได้เป็น 3ประเภท ได้แก่ หินอัคนี หินตะกอน และหินแปร การระบุชื่อของหินแต่ละประเภท จะใช้ลักษณะและองค์ประกอบทางแร่ของหินเป็นเกณฑ์ หินสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น วัสดุก่อสร้าง เครื่องประดับ วัตถุดิบในอุตสาหกรรม
 ตัวชี้วัดที่ 10
อธิบายกระบวนการเกิด และการ สำรวจแหล่งปิโตรเลียมและถ่านหิน โดย ใช้ข้อมูลทางธรณีวิทยา
สาระเรียนรู้แกนกลางทรัพยากรปิโตรเลียมและถ่านหินเป็นทรัพยากรสิ้นเปลืองที่มีอยู่อย่างจํากัด ใช้แล้วหมดไป ไม่สามารถเกิดขึ้นทดแทนได้ในเวลาอันรวดเร็ว ทรัพยากรปิโตรเลียมและถ่านหินถูกนํามาใช้ในอุตสาหกรรมที่สําคัญของประเทศ เช่น การคมนาคม การผลิตไฟฟ้า เชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ตัวชี้วัดที่ 11
อธิบายสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก ปิโตรเลียมและถ่านหิน พร้อมนำเสนอ การใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม
สาระเรียนรู้แกนกลางการศึกษากระบวนการเกิดและการสํารวจแหล่งปิโตรเลียมและถ่านหินต้องใช้ความรู้พื้นฐานธรณีวิทยาหลายด้าน เช่น ตะกอนวิทยา การลําดับชั้นหิน ธรณีโครงสร้าง รวมทั้งวิธีการ และเทคนิคต่าง ๆ ที่เหมาะสมเพื่อที่จะนําทรัพยากรมาใช้ได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน
ตัวชี้วัดที่ 12อ่านและแปลความหมายจากแผนที่ ภูมิประเทศและแผนที่ธรณีวิทยาของ พื้นที่ที่กำหนด พร้อมทั้งอธิบายและ ยกตัวอย่างการนำไปใช้ประโยชน์
สาระเรียนรู้แกนกลางแผนที่ภูมิประเทศ เป็นแผนที่ที่สร้างเพื่อจําลองลักษณะของผิวโลกหรือบางส่วนของพื้นที่บนผิวโลก โดยมีทิศทางที่ชัดเจน และมาตราส่วนขนาดต่าง ๆ ตามความเหมาะสมกับการใช้งาน แผนที่ภูมิประเทศมักแสดงเส้นชั้นความสูงและคําอธิบายสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏในแผนที่ แผนที่ธรณีวิทยา เป็นแผนที่แสดงการกระจายตัวของหินกลุ่มต่าง ๆ ที่โผล่ให้เห็นบนพื้นผิว ทําให้ทราบถึงขอบเขตของหินในพื้นที่ นอกจากนี้ยังแสดงลักษณะการวางตัวของชั้นหินซากดึกดําบรรพ์และธรณีโครงสร้าง ข้อมูลจากแผนที่ภูมิประเทศและแผนที่ธรณีวิทยา สามารถนําไปใช้วางแผนการใช้ประโยชน์และประเมินศักยภาพของพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม เช่น ประเมินศักยภาพแหล่งทรัพยากรธรณีต่าง ๆ การวางผังเมือง การสร้างเขื่อน

ค้นหาบทเรียน

ทัวร์ที่ได้รับความนิยม

เรื่อง จุดร้อน (Hotspot)

สุสานหินหรือป่าช้าหินปูน (Lapies)

เรื่อง วัฏจักรของหิน (Rock cycle)

วนอุทยานซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหิน จ.ตาก

เรื่อง การแปลความหมายทางธรณีวิทยาในภาคสนาม

หัวข้อ

กาญจนบุรี การกร่อน การผุพัง การลำดับชั้นหิน การลำดับเหตุการณ์ทางธรณีวิทยา ซากดึกดำบรรพ์ ตาก ธรณีพิบัติภัย ภูเขาไฟ รอยเลื่อน หินตะกอน หินปูน หินอัคนี หินแปร

หมวดหมู่

  • ตัวชี้วัดที่ 1 (2)
  • ตัวชี้วัดที่ 10 (3)
  • ตัวชี้วัดที่ 11 (1)
  • ตัวชี้วัดที่ 12 (3)
  • ตัวชี้วัดที่ 2 (3)
  • ตัวชี้วัดที่ 3 (4)
  • ตัวชี้วัดที่ 4 (15)
  • ตัวชี้วัดที่ 5 (3)
  • ตัวชี้วัดที่ 6 (3)
  • ตัวชี้วัดที่ 7 (1)
  • ตัวชี้วัดที่ 8 (3)
  • ตัวชี้วัดที่ 9 (13)
  • รูปถ่าย 360 องศา (31)
  • อินโฟกราฟิก 360 องศา (21)

สถิติการเข้าชม

  • Visitors today : 25
  • Page views today : 27
  • Total visitors : 91,060
  • Total page view: 114,558

VR GEOLOGY
VR GEOLOGY ห้องเรียนธรณีวิทยาเสมือนจริง
50+ TOURS
50+ TOURS จุดศึกษาธรณีวิทยา
60+ 360° IMAGES
60+ 360° IMAGES สถานที่สำคัญทางธรณีวิทยา
20+ INFOGRAPHICS
20+ INFOGRAPHICS ข้อมูลเพิ่มเติมทางด้านธรณีวิทยา

ติดต่อสอบถาม

อีเมล: Geology.VR@gmail.com
ที่อยู่: ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

Creative Commons License
ผลงานนี้ใช้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.