วิธีการใช้งาน

วิธีการใช้งานเว็บไซต์เบื้องต้น

หน้าเริ่มต้น (หน้าหลัก) แสดงเมนูหลักได้แก่ หน้าหลัก บทเรียน วิธีการใช้งาน เทคโนโลยีเสมือนจริง แนะนำโครงการ และการค้นหา (ไอคอนแว่นขยาย) พร้อมทั้งแสดงแผนที่และหมุดระบุตำแหน่งของจุดศึกษาทางธรณีวิทยา (TOURS) ดังแสดงในรูปข้างล่างนี้

หน้าหลัก (หน้าแรก)

ข้อควรรู้
– ทุกครั้งเมื่อคลิ๊กที่ ไอคอน GEOLOGY จะเข้าสู่หน้าเริ่มต้น (หน้าหลัก)
– หน้าจอการแสดงผลของเว็บไซต์จะเปลี่ยนไปตามอุปกรณ์ที่ใช้เปิดเว็บไซต์ เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
– ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฎในเว็บไซต์นั้นอนุญาตให้เผยแพร่ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามดัดแปลง และห้ามใช้เพื่อการค้า


การเข้าถึงบทเรียนทั้งหมด

ในส่วนวิธีใช้งานเว็บไชต์เบื้องต้นนั้นจะเน้นเฉพาะการเข้าถึงในเนื้อ บทเรียน เป็นหลัก เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ใช้เว็บไชต์หรือผู้เยี่ยมชมเว็บไชต์สามารถใช้งานเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยขั้นตอนการเข้าถึง บทเรียน มีต่อไปนี้

  1. ไปที่เมนู มาตรฐานและตัวชี้วัด

จะปรากฎหน้าต่างที่แสดงบทความ มาตรฐาน ว 7.1 เพื่อทำความเข้าใจ บทเรียน เนื่องจากภาพ 360 องศาและภาพนำเสนอข้อมูลที่ใช้จัดทำเป็นสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้สำหรับห้องเรียนธรณีวิทยานี้ จัดเรียงเนื้อหาตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (คำสั่ง ณ วันที่ 7 สิงหาคม 2560) โดยเน้นมาตรฐาน ว 7.1 ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ธรณีพิบัติภัย และผลต่อสิ่งมีชีวิตและ สิ่งแวดล้อม การศึกษาลำดับชั้นหิน ทรัพยากรธรณี แผนที่ และการนำไปใช้ประโยชน์

มาตรฐาน ว. 7.1

2. การเข้าถึง บทเรียน 

หลังจากทำความเข้าใจ มาตรฐาน ว 7.1 และ ตัวชี้วัดทั้ง 12 ข้อ สามารถเข้าถึง บทเรียน ทั้งหมดได้จากแถบ หมวดหมู่ ด้านข้างดังแสดงในรูป

หมวดหมู่ แบ่งตาม ตัวชี้วัดทั้ง 12 ประการ

3. บทเรียน หรือ TOUR นั้น จะแบ่งได้สองประเภทคือ
3.1 ภาพถ่าย 360 องศา (ดังแสดงในรูปด้านล่าง) 
3.2 ภาพนำเสนอข้อมูล (ดังแสดงในรูปด้านล่าง)
โดยแต่ละบทเรียน จะมีข้อมูลที่ประกอบไปด้วย
– ชื่อ บทเรียน หรือ Tour
– จำนวน Scene หรือ เนื้อหาย่อยในแต่ละบทเรียน
– ที่ตั้งสถานที่ของจุดศึกษา พร้อมระบุพิกัดในแผนที่ (เฉพาะภาพถ่าย 360 องศา)
– QR CODE และ Link ของบทเรียน เพื่อเข้าสู่โหมดห้องเรียนธรณีวิทยาเสมือนจริง
– เนื้อหาของบทเรียนโดยย่อ

ภาพถ่าย 360 องศา (แสดงผลบนอุปกรณ์ที่มาขนาดหน้าจอ 13.3 นิ้ว)
ภาพนำเสนอข้อมูล (แสดงผลบนอุปกรณ์ที่มาขนาดหน้าจอ 13.3 นิ้ว)

4. เข้าสู่การใช้งานในโหมดห้องเรียนธรณีวิทยาเสมือนจริง ผ่าน Google VR โดยการสแกนคิวอาร์โค้ด หรือ คลิ้กที่ ลิงค์ที่อยู่ใต้คิวอาร์โค้ด ของแต่ละบทเรียน

ตัวอย่างการแสดงผลในโหมด 360 องศา จากวีดิโอสาธิตการใช้งานห้องเรียนธรณีวิทยาเสมือนจริง ผ่าน Google VR

การเข้าถึงบทเรียน (ภาพถ่าย 360 องศา) ผ่าน เมนูหลัก

กดขยายที่มุมขวาบนของแผนที่ในหน้าเมนูหลัก จากนั้นเลือกบทเรียนจากจุดที่ตั้งของสถานที่นั้นๆ ได้จากแผนที่ แล้วคลิ๊กที่ชื่อของบทเรียน จากนำผู้ใช้งานไปสู่บทเรียนนั้นๆ

การเข้าถึง บทเรียน ภาพถ่าย 360 องศา ผ่านแผนที่ในเมนูหลัก

แว่น VR

แว่น VR เป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ผู้ใช้งานมองเห็นสภาพแวดล้อมเสมือนจริง ปัจจุบันมีหลายบริษัทพัฒนาแว่น VR ที่มีจอแสดงผลแบบสวมศีรษะ (Head-Moundted Display หรือ HMD) เช่น Oculus Rift, Sony PlayStation VR, HTC Vive, Samsung Gear VR, Google Daydream เมื่อผู้ใช้งานเคลื่อนไหว ภาพก็จะเปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวนั้น ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกเหมือนกับได้อยู่ในโลกเสมือนจริงอย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะการใช้งานด้านเกมคอมพิวเตอร์ ที่มีอุปกรณ์เสริมให้ผู้ใช้งานโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมจำลองได้ อย่างไรก็ตามแว่น VR ชนิดนี้ยังคงมีราคาสูงมาก บางรุ่นต้องเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งไม่เหมาะกับการใช้งานด้านการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่มีนักเรียนจำนวนมาก

แว่น VR ที่แนะนำเป็นแว่นที่พัฒนามาจาก Google Cardboard ยี่ห้อ I AM CARDBOARD รุ่น DSCVR ซึ่งมีราคาถูก น้ำหนักเบา พกพาสะดวก มีปุ่มกดสัมผัสหน้าจอ ใช้งานได้ง่ายกับสมาร์ทโฟนทั้งระบบ Android และ iOS ที่มีไจโรสโคป (gyroscope) ติดตั้งในเครื่องโดยระหว่างใช้งานแว่น VR ชนิดนี้ผู้ใช้งานสามารถขยับศีรษะเพื่อตอบสนองกับสภาพแวดล้อมเสมือนจริงตามระดับองศาอิสระ (Degree of Freedom) ได้ 3 รูปแบบ คือ ก้ม-เงย ซ้าย-ขวา และเอียงคอ