เรื่อง การเกิดซากดึกดำบรรพ์ไม้ (Wood fossilization)

หัวข้อนี้อยู่ในชุดความรู้เกี่ยวกับ ฟอสซิล

ชื่อทัวร์: การเกิดซากดึกดำบรรพ์ (จำนวน 1 ซีน)

เปิดด้วยสมาร์ทโฟนและรับชมผ่านแว่น VR ได้ที่
https://www.thinglink.com/video/1618488996923441153


คำอธิบาย
ในการเกิดจากซากดึกดำบรรพ์ (fossil) เช่น การเกิดซากดึกดำบรรพ์ไม้ นั้นเกิดขึ้นจากท่อนไม้ถูกฝังกลบอยู่ใต้ผิวดินในสภาพที่ขาดออกซิเจนทำให้เนื้อไม้ไม่เน่าเปื่อย และถูกฝังแช่อยู่ในสารละลายซิลิกาที่มีความเข้มข้นสูงเพียงพอ ในสภาพแวดล้อมที่ท่อนไม้และสารละลายซิลิกาได้สัมผัสกับออกซิเจนเป็นบางช่วงเวลาทำให้สารละลายซิลิกาตกตะกอนในรูปของซิลิกาเจล สะสมตัวแทนที่โมเลกุลของเนื้อไม้ (replacement) จนทำให้ท่อนไม้ที่เป็นเนื้อสารอินทรีย์เปลี่ยนไปเป็นเนื้อหินซิลิกาแต่ยังคงรักษาโครงสร้างเนื้อไม้ดั้งเดิมเอาไว้ทำให้ได้ไม้ที่กลายเป็นหิน เป็นต้น และในการเกิดซากดึกดำบรรพ์ประเภทอื่นนั้นก็มีกระบวนการเกิดคล้ายคลึงกัน โดยเมื่อสิ่งมีชีวิตล้มตายลง ส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อจะผุพังย่อยสลายหายไป คงเหลือแต่ส่วนที่เป็นโครงสร้างแข็ง เช่น เปลือกหอย กระดูก ที่ถูกทับถมอยู่ในชั้นตะกอน สารละลายแร่จากน้ำใต้ดินจะแทรกซึมเข้าไปอยู่ในโพรงเปลือกหอยหรือโพรงกระดูก ทำให้ชิ้นส่วนเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงสีไปจากธรรมชาติดั้งเดิม และเสริมสร้างความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น


อินโฟกราฟิกซีนที่ 1: การเกิดซากดึกดำบรรพ์ไม้ (Wood fossilization)

อินโฟกราฟิก 360 องศา อธิบายการเกิดซากดึกดำบรรพ์